วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
 นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม" หรือจะกล่าวง่ายๆ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จาก แนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรมเช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักกันมาก ก็น่าจะเป็น Thoery of Disruptive Innovation ของ Prof. Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 1962 
ทั้งนี้ความคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมมีวิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ปีแล้ว โดยในช่วงทศวรรษที่ 1950 บรรดานักวิชาการต่างมองว่า นวัตกรรมเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่แยกออกมาจากการศึกษาวิจัยต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้ นวัตกรรมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผลลัพธ์ของการดำเนินงานของปัจเจกบุคคล หากแต่เป็นผลของกระบวนการ (process) ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem-solving process) ที่เกิดในองค์กร หรือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interactive process) ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีบทบาทสำคัญอื่นๆ มีได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือเชิงพาณิชย์ หรือ กระบวนการเรียนรู้แบบแปรผัน (diversified learning process) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากปัจจัยแตกต่างกัน เช่น การเรียนรู้โดยการใช้ (learning by using) การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (learning by doing) การเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยน (learning by sharing) ซึ่งมีได้ทั้งองค์ความรู้ภายในและภายนอกองค์กร ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดูดซับความรู้ขององค์กร

       นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของคำว่า นวัตกรรม ที่รูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตต + กรรม กล่าวคือ นว แปลว่าใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเองและกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อนำคำ นว มาสนธิ กับอัตต จึงเป็น นวัตต และเมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับกรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือการกระทำของตนเองใหม่ นอกจากนี้องค์กรด้านนวัตกรรมและนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม ดังนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ   ให้ความหมายว่า นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes)  ได้ให้ความหมายของ คำว่านวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)" มอตัน (Morton, J.A.)  ได้ให้นิยามของนวัตกรรมไว้ในหนังสือ Organising for Innovation ว่าหมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งได้แก่ การปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ  ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B.)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า นวัตกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล กิดานันท์ มลิทอง ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย นอกจากนี้ คำว่านวัตกรรมยังสามารถถูกนิยามในความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น นวัตกรรมทางการศึกษา นวัตกรรมทางเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการแพทย์  รวมทั้งนวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นต้น
ความหมายของนวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ
นวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการองค์กร (organization development) การดำเนินงาน (work process) และการให้บริการ (service delivery)  อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ
- ประเภทของนวัตกรรมในภาครัฐ 
นวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐมีขอบเขตอยู่ภายใต้กรอบบทบาทและหน้าที่ของรัฐบาล  (Role and functioning of government) โดยสามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ คือ
1) นวัตกรรมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ (Strategy/ Business Concepts Innovation) เป็นการคิดค้น ออกแบบ หรือกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ เป้าประสงค์ใหม่ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์หรือวางทิศทางใหม่ในการนำพาองค์กรในอนาคต
2) นวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ (Service and product Innovation) เป็นการปรับปรุงปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์และการออกแบบของสินค้าและบริการ เช่น บัตรประจำตัวประชาชนแบบ Smart Card หน่วยบริการเคลื่อนที่ (mobile unit)
3) รูปแบบการให้บริการ/การส่งมอบงาน  (Delivery Innovation) ได้แก่ การสร้างหรือปรับเปลี่ยนแนวทาง/รูปแบบในการบริการหรือการติดต่อกับประชาชน เช่น  การให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต
4) นวัตกรรมด้านกระบวนการ  และการบริหารองค์การ (Process and Organization Administration Innovation) ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างองค์กร และกระบวนการภายในใหม่ เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพัฒนาแนวทางการริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล เป็นต้น
5) นวัตกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงกระบวนการ  (Process Interaction Innovation)
ได้แก่ แนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบความสัมพันธ์หรือการปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ หน้าที่กับภาคส่วนอื่นๆ ขึ้นใหม่ เช่น การพัฒนากระบวนการให้บริการในงานที่สัมพันธ์กันอย่างครบวงจร อาทิ การบริการในรูปแบบ Single Window
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม  มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation"  มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า  นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า  การกระทำ  ดังนั้นนวัตกรรมจึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ  ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ  อาจ
หมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่  ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน  คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น  นวัตกรรม  ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง

             Everette  M. Rogers (1983 : หน้า 11)  ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม
(Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่า
เป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม
(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the
individual or other unit of adoption)

การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น Rogers  ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา  ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช้นวัตกรรมบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่  อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness)  อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย  สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง   ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้  ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้

ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1.             สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2.             สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3.             สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

             นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเร่อง  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

             กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
             1)  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น

             2)  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรูบได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจ่งต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้

             3)  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  CAI (Computer Assisted instruction)  การเรียนแบบศูนย์การเรียน

4)            ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้
มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง  แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based Learning"   ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกพี่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Sny where, Any time for  Everyone )  ถ้าหากผู้เรียนสามารถใช้อิเตอร์เน็ตได้

             การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง  ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น  แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์  การประชุมทางไกล อี-เส้นนิ่ง
อี-เอ็ดดูเคชั่น เป็นต้น

เรื่องที่ 2  องค์ประกอบและเกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรมการศึกษา

ยังมีผู้เข้าใจผิดว่าคำว่า "นวัตกรรม"  มีความหมายเดียวกันกับคำว่า "เทคโนโลยี" 
ความจริงแล้ว "เทคโนโลยี"  หมายถึงวิทยาการหรือวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริง จนเป็นที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปแล้ว  ดังนั้นเมื่อนักวิจัยหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทำการศึกษา ค้นคว้าทดลอง จนได้ผลงานใหม่ๆ  ออกมาแล้ว  ผลงานวิจัยนั้นยังมีข้อจำกัดคือทำการทดลองภายใต้สภาวการณ์หนึ่งเท่านั้น ซึ่งมักจะเป็นภายในห้องทดลองหรือในพื้นที่ที่มีการควบคุมตัวแปรอื่นๆ  อย่างดี  จึงยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าผลการวิจัยนั้นจะนำไปใช้ปฏิบัติตามสภาพที่เป็นจริงได้หรือไม่  เนื่องจากยังไม่ได้ผ่านการทดสอบว่าจะมีความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ  หรือไม่  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการทดลองใช้ในพื้นที่จริงๆอีกหลายครั้ง  จนแน่ใจว่าสามารถใช้ได้     ในขั้นตอนนี้จึงถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอีกขั้นตอนหนึ่ง     ดังนั้นเทคโนโลยีจึงอาจหมายถึงผล    การวิจัยที่ได้ผ่านการทดสอบและพัฒนามาแล้วจนสามารถใช้ได้ผลในสภาพตามความเป็นจริง  และมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วนั่นเอง

             .ดร. ชัยยงค์  พรหมวงศ์  ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้  4  ประการ คือ
             1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด  หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต  แต่นำมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่  หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
             2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปฌเรจบบกระบวนการและผลลัพธ์  โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
             3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่"  นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
             4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่"  นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

ขอบข่ายของนวัตกรรม

             สำหรับนวัตกรรมการศึกษา  อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
             สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆ ดังต่อไปนี้
1.             การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2.             เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ  ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3.             การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4.             การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5.             วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6.             การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่

ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทางพึงประสงค์  เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
(สมพร  ชมอุตม์, 2532)
             1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน  มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง  ที่สหรัฐอเมริกามีบริษัทผลิตสื่อดัง ๆ แข่งขันกันหลายบริษัทเช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ แอปเปิล แมคอินทอช  ไอบีเอ็ม ฮิวเล็กแพคการ์ด  คอมแพค เป็นต้น
             2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์  โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกมส์  ซึ่งผสมผสานกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย
             3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
             4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
             5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเียนคอมพิวเตอร์  มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว
(re-education)
             6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมี
นักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering)  เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง  วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด  หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น
             7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
             8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ  มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน  ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น


การศึกษาเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาศัยสื่อที่ทันสมัยโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและผู้คนหลายสิบล้านคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในเวลาอันสั้น การศึกษาหาข้อมูลและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพียงแต่ปลายนิ้วสัมผัส โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) เกิดเป็นชุมชนบนเครือข่ายขึ้น ผู้คนสามารถติดต่อสัมพันธ์กันผ่านจอคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารความรู้จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญไปสู่อำนาจและความมั่นคงของประเทศและเป็นกุญแจที่จะไปสู่ข้อมูลข่าวสารความรู้ ก็คือ "การศึกษา"
โลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ยากจะจินตนาการได้ทั้งหมด แต่ก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าในปี ค.ศ. 2000 ขึ้นไป จะมีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นและเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นการคิดระบบการศึกษาใหม่ ซึ่งเป็นการเตรียมนักศึกษาสำหรับงานในอนาคตเป็นภาระหน้าที่ของนักการศึกษา ร่วมถึงบริษัทห้างร้าน และสังคมต้องร่วมมือกันในการจัดการศึกษา (F.J.Eyschen. 1994)
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจะ ลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา 

พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เมื่อเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของค่าว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" จริงแล้วมาจากคำที่เราเรียกกันอยู่บ่อยครั้งว่า ไอที ( IT : Information Technology )  ทั้งนี้ IT ประกอบด้วย 2 คำ คือ Technology และ Information นิยามไว้ดังนี้.......
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้าง
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ เป็นต้น ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง เป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการ สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย 
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไป ในอดีตโลกมีกำเนิดมาประมาณ 4,600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ค่อยๆ พัฒนา และคาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้ว มนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา จนเมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสื่อสารกันโดยการส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2489 ก็มีการส่งภาพทางโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น 
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทรายหรือซิลิกอน เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนำมาสกัดด้วยเทคโนโลยีและใช้เทคนิควิธีการสร้างเป็นชิป (chip) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะทำให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
            สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติม 
           เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก
           ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศที่สำคัญได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด 
 Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย            1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
     เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หรือที่เรียกว่า ไอที มีผู้ให้คำนิยามไว้อย่างหลากหลาย เช่น หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การบริหาร และการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจการค้า และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม (ฤทัยชนนี สิทธิชัย, 2540, หน้า 8)

     เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แนวความคิด ระบบ วิธี เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บประมวลผล ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สารสนเทศเหล่านั้นในงานสารสนเทศ หรืองานบริการด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (ดวงพร เจียมอัมพร, 2541, หน้า 15-17)
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปิดใช้บริการคอมพิวเตอร์ทั้งในไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเวิร์คสเตชั่น ในการรับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูลจากภายนอกและมีการแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่าน input devices ต่าง ๆ ได้แก่ แป้นพิมพ์ (keyboard) สแกนเนอร์ (scanner) เป็นต้น

2. เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคมนาคม (telecommunication technology) ได้แก่ โทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล (digital mobile telephone) วิทยุติดตามตัว (pager) เป็นต้น

3. เทคโนโลยีระบบสื่อสาร (communication system technology) หมายถึงระบบการสื่อสาร และเครือข่ายที่เป็นส่วนเชื่อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอล ระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว (fiber optic system) รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN (wide area network) เช่น เครือข่าย Internet เป็นต้น

     ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นโลกที่อยู่รอบตัวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และทำให้มนุษย์เข้าใจในข้อมูลเหล่านั้น จึงช่วยส่งผลให้มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วิธีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถจัดการและควบคุมชีวิตสภาพแวดล้อมและงานของตัวเอง หรือแม้แต่สังคมและเศรษฐกิจของโลกได้ 

     เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยนั้น กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ตลอดจนการบริหารงานของรัฐ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ธนัสถ์ เกษมไชยานันท์, 2544, หน้า 13-15)

ด้านการศึกษา
1. การเปิดใช้บริงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided Instruction--CAI) เป็นการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและเรียนรู้
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งช่วยยกระดับการศึกษาของพลเมือง โดยการกระจายความรู้ไปยังชนบทที่ห่างไกล ทำให้ประชาชนในชนบทได้รับความรู้มากขึ้นกว่าเดิม
3. การสอนทางไกลระบบ video teleconference เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสื่อสารสองทาง ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถถามตอบกันได้ทันที
4. การจัดทำสารานุกรม หนังสือหรือฐานข้อมูลทางการศึกษา โดยใช้มัลติมีเดียหรือสือประสมที่สามารถแสดงได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและข้อมูล
5. การนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร บทความ รายงาน หนังสือ ฯลฯ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ 

ด้านการสาธารณสุข
1. เกิดทางหลวงสารสนเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุข (health information highway) ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อของบุคคล ข้อมูล ฐานข้อมูล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแพทย์และสาธารณสุข ดังนั้น ผู้ป่วยจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อไปยังแพทย์เพื่อสอบถามหรือขอคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยา บริษัทผู้ผลิตยาหรือบริษัทประกันสุขภาพได้ทันที
2. การติดตั้งระบบโทรเวชหรือการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียม (telemedicine) ซึ่งช่วยให้นายแพทย์ในชนบทสามารถขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือในศูนย์ให้คำปรึกษาอื่น ๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างกันและกันทั้งทางด้านภาพ เช่น X-Ray และเสียงสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องมือทางการแพทย์ รวมไปถึงการประชุมปรึกษาหารือกันโดยไม่ต้องเดินทางไกล ซึ่งนับเป็นการเปิดใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบ คือ ทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการโทรคมนาคม
3. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงพยาบาล เพื่อบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ดำเนินการตรวจรักษา จ่ายยา และคิดเงินค่ารักษาพยาบาล

ด้านสิ่งแวดล้อม 
     เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่นการเปิดใช้บริการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) ของกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย

ด้านเศรษฐกิจ
1. ด้านการผลิต โดยการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ในการผลิต ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรและออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แปลกใหม่และสวยงามมากขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น
2. ด้านการเงิน โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธนาคาร ทำให้เกิดระบบออนไลน์ต่างสาขาและระบเงินด่วน หรือ ATM
3. ด้านธุรกิจ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานด้านสำนักงานอัตโนมัติงานบัญชี ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น จึงทำให้สามารถตัดสินใจในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การขยายตัว หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น และส่งผลให้บริษัทที่รู้จักนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพิ่มกำไรมากขึ้น
 เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารนิเทศ (information technology) เป็นคำศัพท์ที่มาจากคำอย่างน้อย 2 คำ คือ คำว่าเทคโนโลยี กับคำว่าสารสนเทศ เทคโนโลยี (technology) หมายถึง การใช้เครื่องมือหรือวิธีการทางช่างที่ได้พัฒนามาตามลำดับในการปรับปรุงงาน ส่วนคำว่า สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลหรือข่าวสารที่จะต้องนำมาประมวลผลเพื่อสร้างเป็นระบบสารสนเทศ ดังนั้น ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศตามรากศัพท์จึงหมายถึง การจัดระบบสารสนเทศที่ต้องใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่พัฒนาแล้วมาดำเนินการ (มนูญ แก้วราตรี, 2542, หน้า 11) นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ITไว้ ดังนี้
          ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2548, หน้า 16) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลค้นคืน ส่งและรับเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการข้างต้น ในความหมายที่กว้างขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทุกด้านมารวมกันในกระบวนการสร้างจัดเก็บ และสื่อสารสารสนเทศ สอดคล้องกับ Adams (1986, p. 88) กล่าวถึง ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เครื่องจักรกลที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล ช่วยในการเชื่อมต่อสารสนเทศในระบบฐานข้อมูล สร้างแบบจำลอง จัดหมวดหมู่ เรียนลำดับ คำนวณ จัดเก็บ สืบค้น จัดทำสำเนาและเผยแพร่ข้อมูลได้ตามความต้องการและเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้ เช่นเดียวกับ สุขุม เฉลยทรัพย์ (2547, หน้า 107) อธิบายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology นั้นจะเน้นที่การจัดการกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ ในขณะที่ ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2544, หน้า 1) กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศว่า มีความหมายครอบคลุมทั้งระบบสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งประเด็นจริยธรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และผลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือและเทคนิควิธีการสำหรับ การเก็บรวบรวม ประมวลผล เรียกใช้ส่งและรับข้อมูล เครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์โทรคมนาคม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีโดยทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ส่วน เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2545, หน้า 338) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การประยุกต์ในการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน และอุปกรณ์โทรคมนาคม โดยที่คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บประมวลข้อมูล ให้เกิดสารสนเทศสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสารสนเทศนั้นสามารถส่งและแลกเปลี่ยนโดยผ่านระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ในขณะที่ ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540, หน้า 77) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผลและเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารคมนาคม เช่นเดียวกับ วาสนา สุขกระสานติ (2540, หน้า 28) กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถจัดการกับสารสนเทศตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การสื่อสาร การค้นหา ทำสำเนา เผยแพร่ทั้งระยะใกล้และระยะไกล ซึ่งกระบวนการดังกล่าวรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ อันได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์โทรคมนาคม เครื่องมือสมัยใหม่ และเทคโนโลยีระดับสูง และวิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542, หน้า 2-3) ที่ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจดบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลสืบค้น ส่งและรับข้อมูล ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบันทึกและสืบค้น เครือข่ายสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม
          สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่องค์กรหรือหน่วยงานนำเข้ามาเป็นอุปกรณ์และเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การจัดเก็บสารสนเทศ การสืบค้น แลกเปลี่ยนข้อมูล และรับส่งข้อมูลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานสูงสุด ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะประกอบไปด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี     การสื่อสารโทรคมนาคมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง




  เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญหลายสาขาด้วยกัน ซึ่ง ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540, หน้า 41-43) และ วศิณ ชูประยูร และสมชาย เล็กเจริญ (2537, หน้า 94) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยสรุปว่า ประกอบไปด้วย
          เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถปรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีทั้งระบบใหญ่และเล็ก อันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและส่วนประกอบอื่น ๆ ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ท้าทายของทุกคนมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์กับงานต่าง ๆ มากมายตามลักษณะของการใช้งานและประเภทของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ประการ คือ
          1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซีพียู เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ
          2. ซอฟต์แวร์ (software) ได้แก่ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับควบคุม
ให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
          3. ข้อมูล (data) ได้แก่ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ต้องเก็บรวบรวมไว้ประกอบการตัดสินใจในการทำงาน ข้อมูลนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์
          4. บุคลากร (people ware) ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่สำหรับพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ (programmer) มีหน้าที่ดูแลทั้งระบบ และผู้ใช้ระบบ (user) 
          ในขณะที่ ศรีไพร  ศักดิ์รุ่งพงศากุล (2544, หน้า 11) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน โดยโปรแกรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทในองค์กร ซึ่งคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญด้วยคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ได้แก่  
          1. การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine) คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่สัญญาณไฟฟ้าและถูกแปลงเป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
          2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed) การทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินการต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที)
          3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability) คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
          4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage) คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร
          5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication) คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องอื่น ๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ (remote computer) 
  ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัย และการพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้ การปฏิบัติงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับ มาลี ล้ำสกุล (2547, หน้า 10) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อหน้าที่การทำงานของมนุษย์ ตลอดจนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายกับสังคม ความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตของคนในทุกวงการ และอาชีพ การกล่าวถึงเทคโนโลยีมักหมายถึง เทคโนโลยีที่เป็นที่รู้จักกันดีประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้สื่อสารกันและสารสนเทศ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารหรือโทรคมนาคมมีพัฒนาการความเปลี่ยน แปลงไปอย่างมาก ส่วนสารสนเทศเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลที่ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นตัวเลข ตัวอักษร เครื่องหมาย เสียงหรือภาพ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงดิบที่อธิบายถึงสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และกิจธุระมาจัดการให้เกิดความหมายและมีคุณค่าต่อผู้รับสารสนเทศ จึงเป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และเรื่องที่ต้องการ และหากบุคคลได้เรียนรู้ทำความเข้าใจ ใช้ความคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับสารสนเทศจะสังเคราะห์ขึ้นเป็นความรู้ โดยสรุป สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ได้รับการประมวลหรือจัดการในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้ข้อมูลเพิ่มคุณค่า และนำไปใช้ประโยชน์ได้ สารสนเทศจึงเป็นส่วนสำคัญของคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
          ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล (2548, หน้า 12) กล่าวว่า ทุกคนต่างมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการปรับรูปแบบทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแรงผลักดันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หรือที่เรียกว่า IT นอกจากระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยจะก่อให้เกิดการปฏิวัติทางเทคโนโลยีแล้ว ยังส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและกิจกรรมระหว่างประเทศ โดยมีผู้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีความสำคัญเช่นเดียวกับการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ ตั้งแต่ระบบสังคม องค์การธุรกิจ และปัจเจกชน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศกระตุ้นให้เกิดการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ภายในสังคม การแข่งขัน และความร่วมมือทางธุรกิจ ตลอดจนกิจกรรมการดำรงชีวิตของบุคคลให้แตกต่างจากอดีต ดังนั้นบุคคลทุกคนในฐานะสมาชิกของสังคมสารสนเทศ (information society) จำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  
          เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ในด้านการเมือง การปกครอง สังคม สาธารณสุข คมนาคม และความมั่นคงปลอดภัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Leaning การจัดทำสื่อการศึกษาแหล่งสารสนเทศ และใช้ในการบริหารการศึกษาจึงได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรมากยิ่งขึ้น

ความหมายของสารสนเทศ
          สังคมสารสนเทศเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว การพัฒนาความคิดใหม่ ๆ และการศึกษาที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต คนและความรู้ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ในปัจจุบันมีผลสืบเนื่องมาจากพลังและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดด้านเวลาและระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ จึงมีผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านได้ให้คำจำกัดความของสารสนเทศ ไว้ดังนี้
          ชนะ โศภารักษ์ (2540, หน้า 104) ที่กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ผลที่ได้รับจาก การนำข้อมูลมาแปรสภาพ หรือรวบรวมให้อยู่ในรูปที่มีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่นเดียวกับ สมคิด บางโม (2540, หน้า 293) กล่าวว่า ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล (data) และการจัดกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (information) เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน ประกอบการวินิจฉัยสั่งการตามความต้องการของผู้บริหาร และเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
          สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล ผ่านการวิเคราะห์ และสรุปให้อยู่ในรูปที่มีความหมายที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มักจะมีสารสนเทศเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่น ในกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษา จำนวนอาจารย์ เป็นต้น (สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542, หน้า 64) สอดคล้องกับ ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540, หน้า 97) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลผล หรือคำนวณทางสถิติไม่ใช่ข้อมูลดิบสำหรับใช้ในการวางแผน ควบคุมและตัดสินใจด้าน การบริหารของผู้บริหาร นอกจากนี้ สุชาดา กีระนันทน์ (2542, หน้า 5) ได้ให้ความหมายว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นจนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์ คือ ความรู้ที่เกิดเพิ่มขึ้นกับผู้ใช้
          จากแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่า สารสนเทศ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง และสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการต่าง ๆ ได้ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ บันทึก ออกผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนในการวางแผนการปฏิบัติงาน การวินิจฉัยสั่งการตามความต้องการของผู้บริหาร ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

 ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา จนอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่รองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผลและแสดงผลตามที่ต้องการและการตัดสินใจ หรือการสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ชม ภูมิภาค (2542, หน้า 62) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นส่วนประกอบ ที่มีความสำคัญในองค์กร ระบบสารสนเทศโดยรวมขององค์กรประกอบไปด้วยองค์กร (organization) เทคโนโลยี (technology) และการบริหารจัดการ (management) สอดคล้องกับ ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2544, หน้า 294-298) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานสามารถพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในปัจจุบันถือว่า ระบบสารสนเทศเป็นตัวเชื่อมองค์กรเข้าด้วยกัน ช่วยในการบริหารจัดการควบคุม และการเสริมสร้างองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การประมวลผล และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในองค์กรสามารถลดขนาดและระดับโครงสร้างองค์กร และช่วยลดจำนวนบุคลากรในองค์กรได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในองค์กรได้มากขึ้น เช่น ลดปริมาณกระดาษในการทำงาน ลดปริมาณการทำงานด้วยมือ ลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารเกิดความสัมพันธ์แบบสองทิศทางระหว่างองค์กรกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การจัดหาข้อมูลที่จำเป็นของแต่ละกลุ่มภายในองค์กรก็จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาเป็นข้อมูลข่าวสารให้กับองค์กร ในขณะที่ ประภัสสร โคตรสมบัติ (2543, หน้า 23) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ  ไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่ผลิต (generation) ประมวล (process) และแพร่กระจาย (distribution) สารสนเทศ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การสืบค้น และการส่งสารสนเทศ ซึ่งจะทำให้สารสนเทศถึงมือผู้ใช้ตามที่ต้องการ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นในการที่จะช่วยให้การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่าง ๆ หรือใช้สารสนเทศร่วมกันของหน่วยงานให้เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเกิดประโยชน์มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดระบบข่าวสารที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ทำการจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้ได้อย่างสะดวก โดยจัดทำเป็นระบบอัตโนมัติ ช่วยให้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วน อารีย์ เพชรหวน (2541, หน้า 38) ศึกษาพบว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าไปมีความสำคัญ  ในการบริการผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดทั้งในแง่ทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาจสรุปความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดังนี้
          1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
          2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ เป็นต้น
          3. ช่วยให้เก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
          4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
          5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
          6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้สะดวก ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางโดยการใช้ระบบโทรศัพท์และอื่น ๆ
          สถาบันราชภัฏสวนดุสิต (2542, หน้า 4-5) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สำคัญประกอบด้วย 2 สาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งจำแนกตามลักษณะของการใช้งานได้ 6 ประเภท ดังนี้
          1. เทคโนโลยีที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพบรรยากาศ กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายวีดิทัศน์ เครื่องเอ็กซเรย์ เป็นต้น
          2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตร ATM เป็นต้น
          3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เป็นต้น
          4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลหรือสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ จอภาพ พลอตเตอร์ และอื่น ๆ
          5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาสารสนเทศ เช่น เครื่องถ่ายภาพ เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
          6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรเลข และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
          วชิราพร พุ่มบานเย็น (2545, หน้า 48) ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ คือ
          1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นคว้าหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้นและกว้างขวางไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ
          2. การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็สามารถทำได้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันหรือใช้เวลาน้อยลง เป็นต้น
          3. การดำเนินธุรกิจ จะทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กร เพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
          4. อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน
          5. ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น และงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
          นอกจากนั้น สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (2541, หน้า 29) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงานห้างร้านต่าง ๆ นั้นมีหลายข้อด้วยกัน แต่อาจสรุปได้ ดังต่อไปนี้
          1. สามารถจัดเก็บข้อมูลจากจุดเกิดได้อย่างรวดเร็ว
          2. สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ เอาไว้ใช้งาน หรือเอาไว้อ้างอิงการดำเนินงาน
          3. สามารถคำนวณผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว
          4. สามารถสร้างผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบ
          5. สามารถส่งสารสนเทศข้อมูล หรือผลลัพธ์ที่ได้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ อย่างรวดเร็ว
          นอกจากนี้ ยืน ภู่วรวรรณ และชัยยงค์ วงศ์ชัยสุวัฒน์ (2536, หน้า 23) ได้กล่าวถึง แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศจะค่อย ๆ กลายเป็นระบบเครือข่ายโดยใช้เครื่องระบบหนึ่งทำงานพร้อม ๆ กัน ได้หลาย ๆ อย่าง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นอกจากจะใช้เป็นเครื่องประมวลผลข้อมูลด้านการบัญชีแล้ว ยังนำมาใช้ในการจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันได้ภายในเครือข่ายเดียวกัน เครื่องถ่ายเอกสารนอกจากจะทำงานถ่ายเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถเป็นเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องรับโทรสารไปในตัว 
          กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางธุรกิจ หรือสถาบันการศึกษา เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นองค์ประกอบที่ทำให้องค์กรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลาของการติดต่อสื่อสารได้มาก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการผลิตเอกสาร อีกทั้งยังช่วยลดอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

นวัตกรรม  (Innovation)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ  “นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน  (Pilot Project)  แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง  การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา(boonpanedt01.htm)
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
       
ดังนั้น นวัตกรรม หมายถึง การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยที่ยังไม่มีมาก่อนหรือดัดแปลงจากของเดิมอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
เทคโนโลยี (Technology)
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษา ง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

ดังนั้น เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เหมาะสมกับความต้องการของมนุษย์

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
บีแฮนและโฮลัมส์  ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"  
ลูคัส จูเนียร์ (Lucas,JR 1997 : 7 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมา ประยุกต์ใช้ เพื่อการประมวลผล การจัดเก็บ
กมลรัฐ  อินทรทัศน์ (2550) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังเอื้อประโยชน์ทำให้การสื่อสารกัน และกันของมนุษย์ทำได้อย่างไร้ขีดจำกัดมากขึ้น ทั้งนี้อาจแบ่งประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารออกเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 3 ประเภท คือ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ

ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์  และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
        Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)
ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
                    1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
                    2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
                    3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
               กิดานันท์  มลิทอง (2540 : 245ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
             ราตรี สายเส็น  นวัตกรรมหมายถึง    การกระทำต่างๆ ที่นำเอาทรัพยากรต่างๆ มาทำให้เกิดขีดความสามารถใหม่ๆ ในทางที่ดีขึ้น
            สรุป  นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน  เป็นการศึกษาค้นคว้าสิ่งใหม่ๆเพื่อเป็นการสร้างประโยชน์แก่สังคม เช่น การประดิษฐ์สิ่งของต่างๆมาเพื่อทุนแรงมนุษย์ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
  
 เทคโนโลยี
 ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี ว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะ หมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
        สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
        ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือ วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
 สรุป  เทคโนโลยี หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของมนุษย์ เป็นสิ้งที่ทันสมัย เช่น โรงงานอุตสาหกรรม  อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เป็นต้น หรือการนำทรัพยากรต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และต้องเป็นไม่เป็นปัญหากับสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
          คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพธ์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque" หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน        
          คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า         
           "สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน  ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์           
             บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"       
             มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม        
 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ไอซีที
การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปี พ.ศ. 2548
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์(คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
 สรุป  เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ทันสมัยสามารถทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
ความหมายของนวัตกรรม
คำว่า "นวัตกรรม" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "innovare" ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา" (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ,2547)
โทมัส ฮิวส์ (Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมานวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ มอร์ตัน (Morton,1971)
นอร์ดและทัคเคอร์ (Nord & Tucker,  1987) อธิบายว่า นวัตกรรม หมายถึง
ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม (Radical Innovation) โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value), ความเชื่อ (belief), ตลอดจนระบบค่านิยม (value system) รูปแบบเดิมๆ ของสังคมอย่างสิ้นเชิง
โรเจอร์ส (Rogers,  1983) ได้ให้ความหมายว่านวัตกรรม คือ ความคิดการกระทำ หรือสิ่งที่บุคคลหรือคนกลุ่มหนึ่งยอมรับว่าเป็นสิ่งใหม่ โดยอาจเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าความคิดนั้นจะเป็นสิ่งใหม่นับตั้งแต่เริ่มใช้หรือถูกค้นพบครั้งแรกหรือไม่ก็ตาม ขึ้นอยู่กับการที่บุคคลรับรู้ว่าเป็นของใหม่หรือไม่ โดยความเห็นของบุคคลเองจะเป็นผู้ตัดสินการตอบสนองของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น ถ้าบุคคลเห็นว่าความคิดนั้นเป็นสิ่งใหม่สำหรับตน ความคิดนั้นก็เป็นนวัตกรรม
ความหมายของเทคโนโลยี
        ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
        สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
        ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"       
             มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม        
สรุป นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
การประยุกต์เอาความรู้ ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ โดยการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
นวัตกรรม (Innovation)
 1. ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
2.มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา(boonpanedt01.htm)
3.ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการ ทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
สรุป นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง กว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
เทคโนโลยี (Technology)
1.ผดุงยศ ดวงมาลา ( 2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
2.สิปปนนท์ เกตุทัต ( ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
3.ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
สรุป เทคโนโลยี คือการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
1.กมลรัฐ อินทรทัศน์ (2550) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังเอื้อประโยชน์ทำให้การสื่อสารกัน และกันของมนุษย์ทำได้อย่างไร้ขีดจำกัดมากขึ้น ทั้งนี้อาจแบ่งประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารออกเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 3 ประเภท คือ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ
2.ลูคัส จูเนียร์ (Lucas,JR 1997 : 7 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมา ประยุกต์ใช้ เพื่อการประมวลผล การจัดเก็บ
3.บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้จัดการสารสนเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน และการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้